กำลังแสดงผลในรูปแบบ Mobile
มาตรฐานทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durian Sisaket)

“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durian Sisaket)” หมายถึง ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว ทุเรียนที่มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง เนื้อละเอียด แห้ง สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ซึ่งปลูกในพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอศรีรัตนะ ของจังหวัดศรีสะเกษ

มาตรฐานทุเรียน
ภูเขาไฟศรีสะเกษ

1. เกษตรกรปฏิบัติดูแลสวนทุเรียนได้ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง-ดอก-ผล การใส่ปุ๋ย เป็นต้น

2. เป็นสวนที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช “เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)” ระดับแปลง โดยกรมวิชาการเกษตร

3. มีการจัดเก็บข้อมูล ในระบบ QR Code (Quick Response Code) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจ สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ผลิตได้

01. ผู้ผลิต

“ผู้ผลิต” หมายถึง เกษตรกร หรือ กลุ่มเกษตรกร ที่ปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และต้องขึ้นทะเบียนกับ หน่วยงาน องค์กรที่จังหวัดศรีสะเกษมอบหมาย และยอมรับเงื่อนไขการตรวจรับรอง

02. การขึ้นทะเบียนผู้ผลิต

“การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” หมายถึง ผู้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เป็นผู้ผลิต ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อ “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”

03. ผู้ประกอบการค้า

“ผู้ประกอบการค้า” หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่าหน่ายสินค้าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และต้องซื้อกับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ โดยขึ้นทะเบียนผู้ค้ากับหน่วยงาน องค์กรที่จังหวัดศรีสะเกษมอบหมาย และยอมรับเงื่อนไขการตรวจรับรอง

04. การจัดการคุณภาพพืช

"ระบบการจัดการคุณภาพพืช (GAP)" เป็นขั้นตอนที่มุ้งเน้นเพื่อผลิตพืชชนิดนั้นๆ โดยคำนึงถึงการจัดการตามความต้องการในการพัฒนาการของพืชในแต่ละช่วง ตั้งแต่เริ่มปลูก จนเก็บเกี่ยวซึ่งจะท่าให้ ได้ผลผลิตมีคุณภาพสูง ลดต้นทุน และปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในผลผลิต

กระบวนการผลิต

  จากค่าขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ระบุไว้ว่าทุเรียนที่จะได้รับเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ในนาม ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ต้องปฏิบัติ ดังนี้

1. ต้องผ่านการรับรองระบบการจัดการคุณภาพพืช (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ

2. ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษที่เหมาะสม คือช่วงปลายเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือนมิถุนายน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศของแต่ละปี ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนสุกแก่เต็มที่พร้อมบริโภค

3. ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษต้องได้จัดเก็บข้อมูลในระบบ QR-Code (Quick Response Code) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปที่แปลงปลูกได้

  ดังนั้นเกษตรกรที่จะผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ จะต้องทราบถึงการปฏิบัติตาม มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพพืช (GAP) และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ QR-Code

ระบบการจัดการคุณภาพพืช (GAP)

  ระบบการจัดการคุณภาพพืช (GAP) คือ การปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของอันทรายที่เกิดขึ้น ระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และ เหมาะสมต่อการบริโภค โดยอันตรายต่างๆที่ อาจพบได้ในสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่

  - ชีวภาพ : จุลินทรีย์ที่ท่าให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปาราสิต

  - เชื้อราเคมี : โลหะหนัก สารพิษตามธรรมชาติในพืช สารเคมีทางการเกษตร สารเติมแต่ง/วัตถุเจือปนอาหาร

  - กายภาพ : วัสดุแปลกปลอม เช่น กรวด หิน ดิน เศษแก้ว โลหะ ไม้ พลาสติก